ที่มาของบริษัท
ก่อตั้งในปี พศ.2534 ภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยแอ็ดว้านซ์ฟูด(1991)จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภท นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์
และโยเกิร์ตพาสเจอร์ไรส์ ตรา สวีทตี้
ซึ่งบริษัทฯได้วิจัย พัฒนา และคัดสรรวัตถุดิบที่ดี เพื่อนำมาผลิตสินค้า
ที่มี จุลินทรีย์แลคโทบาซิลลัสสายพันธ์ดี CASEI ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
และรสชาติสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
โดยบริษัทมีระบบการจัดจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด และหนุ่ม-สาวสวีทตี้ทั่วประเทศ
1 กรกฎาคม 2550 บริษัท
ไทยแอ็ดว้านซ์ฟูด(1991)จำกัด ได้ร่วมทุนกับ บริษัท คัมพินา
ประเทศเนเธอแลนด์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สวีทตี้จำกัด จนถึงปัจจุบันทั้งนี้
บริษัทฯไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพสินค้า และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
โดยยังมุ่งเน้นความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
นโยบายของบริษัท
เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนมที่เน้นการใช้จุลินทรีย์แล็คโทบาซิลลัสในกลุ่มโพรไบโอติคส์เป็นหลัก
เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดี รวมทั้งมุ่งพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ เพื่อนำ “สวีทตี้”ไปสู่ระดับสากล
ภารกิจ
- ยึดมั่นในการผลิตสินค้า
และคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร
รวมทั้งการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ภายใต้การควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดทุกขั้นตอน
- วางแผนการบริหารและกำหนดกลยุทธ์เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำในฐานะผู้ผลิต
และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ และโยเกิร์ตในประเทศไทย
- ขยายธุรกิจสู่ประเทศต่างๆ
ในแถบเอเชียภายใต้ตราสินค้า สวีทตี้
การดำเนินงานของธุรกิจโดยรวม
- รับสมัครสมาชิกเข้าร่วมทำธุรกิจ
- รับสมัครผู้บริหารคลังสินค้า
- รับสมัครพนักงานที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานกับเรา
- บริหารองค์กรด้วยธุรกิจเครือข่าย
- บริการจำหน่ายนมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์
และโยเกิร์ตพาสเจอร์ไรส์
- ผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการของลูกค้า
แผนผังการจัดการองค์กร
รูปที่ 1 แผนผังองค์กร
หน้าที่ ปัญหา และการแก้ปัญหาของแต่ละแผนก มีดังนี้
ฝ่ายงานบริหาร
แผนกบัญชี มีหน้าที่ดังนี้
-
ควบคุมดูแลงานด้านการบริหารงานบัญชีและการเงิน รายรับ-รายจ่ายของบริษัท
-
ควบคุมยอดทางด้านงบการเงิน วิเคราะห์งบการเงินในแต่ละเดือน
-
ควบคุมดูแลจัดทำงบลงทุน งบกำไรขาดทุน งบดุล และปิดงบการเงิน
-
เบิกจ่ายรายจ่ายที่จัดสรรแล้วให้แก่แผนกต่างๆ
-
ควบคุมอนุมัติรายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้
ปัญหาของแผนกบัญชีคือ
1. อาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
2. ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมีจำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบ
3. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร
เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
4. รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก
เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
5. การจัดบัญชีรายรับ รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์
ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
แผนกบุคคล มีหน้าที่ดังนี้
-การจัดสรรหา
พนักงานเข้ามาทำงานให้เหมาะสมตามความต้องการขององค์หรือแต่ละแผนก
และการทำสัญญาการจ้างทำงานโดยยึดหลักนโยบายของบริษัทและความพึงพอใจของพนักงาน
-การบริหารค่าแรง
สวัสดิการ ประกันสังคม ภาษี
-การจัดทำแผนการอบรมพัฒนา
ทำสถิติ ความต้องการในการจัดอบรม การหาและกำหนดตัวของวิทยากรที่ให้ความรู้
-ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
ในการปรับค่าจ้าง
-สรุปยอดการปฏิบัติงานของการบริหารงานบุคคลประจำปี
ปัญหาของแผนกบุคคลคือ
1. การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
2. ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
3. ไม่ทราบเวลาเข้า – ออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็นต์
ฝ่ายปฎิบัติการ
แผนกงานขาย/การตลาด มีหน้าที่ดังนี้
-
วิเคราะห์ วางแผน กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งรายชื่อ
ลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม และกำหนดเป้ายอดขาย ในแต่ละกลุ่มลูกค้า
ที่มีความเป็นไปได้ ให้กับฝ่ายขายไปดำเนินการ
- วิเคราะห์
วางแผน จัดการ ให้มีการส่งเสริมการขาย ด้วยการวางแผน เข้าร่วม โครงการ กิจกรรม
การประกวดผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ ที่หน่วยงานหรือองค์กร ต่างๆจัดให้มีขึ้น ในแต่ละปี
- วิเคราะห์
วางแผน และดำเนินการสร้าง สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์
และ เผยแพร่ โฆษณา PR ไปยังสื่อต่างๆ
- วิเคราะห์
วางแผน กำหนดเป้าหมาย และดำเนินการสร้าง
ตัวแทนจำหน่ายและ ผู้สร้างระบบ(Implementor) ในแต่ละช่องทางจัดจำหน่าย
สำหรับลูกค้า กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ได้ยอดขายตามที่กำหนด
ปัญหาของแผนกขายคือ
1. เอกสารมีจำนวนมาก
ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ ซึ่งมีเอกสารดังนี้
1.1 เอกสารข้อมูลลูกค้า
1.2 เอกสารข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
1.3 เอกสารเกี่ยวกับสินค้า
2. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน
เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง ทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
3. ข้อมูลมีความแตกต่าง
เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น เบอร์โทรศัพท์
ที่อยู่ เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย ๆ
4. เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
ฝ่ายธุรการ
แผนกประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ดังนี้
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของบริษัท
รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าและพัฒนา
และติดตามลูกค้าทางโทรศัพท์และทางจดหมายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบข่าวสารของบริษัทปัญหาของแผนกประชาสัมพันธ์คือ
1. การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
2. สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
แผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
มีหน้าที่
-
ดูแลความเรียบร้อยและตรวจเช็คสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า
รวมทั้งสั่งซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้า
-
สรรหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ ภายในบริษัท
เพื่อมาใช้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
- Support
หน่วยงานต่างๆ
ให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้ โดยต้องทำการเปรียบเทียบราคาของวัตถุดิบจาก Supplier
หลายๆ เจ้า
-
เลือกซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
ปัญหาของแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
1.ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก
เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
2. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น
เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
3. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป
เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
4. การสต็อกสินค้าไม่เพียงพอ
5. จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
6.วัตถุดิบบางตัวมีราคาค่อนข้างสูงทำให้ไม่ต้องตามเป้าหมายที่วางไว้
ฝ่ายโรงงาน
แผนกผลิตสินค้า
มีหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามนโยบายและหน้าที่ที่มอบหมาย
สามารถทำงานกับเครื่องจักรได้เบื้องต้น
พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้เบื้องต้น
และต้องเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานในแผนกนั้นๆ
เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเอง รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานได้
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต
ปัญหาของแผนกผลิตสินค้า
1. มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
2. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
3. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
4. มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
5. มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
แผนกควบคุมคุณภาพ
มีหน้าที่ดังนี้
รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและวัตถุดิบแต่ละประเภท
ให้เป็นไปตามมาตรฐานเรื่องคุณภาพที่บริษัทกำหนด
โดยร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้ากับผู้บังคับบัญชา และให้ความสำคัญกับ กระบวนการตรวจสอบสินค้าทุกระบวนการผลิต
เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนถึงมือลูกค้า
ปัญหาของแผนกควบคุมคุณภาพ
1. สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
2. มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด
ปัญหาระหว่างแผนกที่เกี่ยวข้องกัน
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกบุคคล
-
แผนกบัญชีไม่รู้ว่าค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้พนักงานในแต่แผนก เป็นจำนวนเงินเท่าไรเพราะแต่ละแผนกให้ค่าจ้างพนักงานไม่เหมือนกัน
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกงานขาย/การตลาด
-
แผนกบัญชีทำรายการขายสินค้าผิดเนื่องจากแผนกขาย/การตลาดสรุปยอดสินค้าผิด
-
แผนกบัญชีไม่สามารถสรุปยอดการขายได้เนื่องจากแผนกการขาย/การตลาดไม่สรุปยอดการขายส่งแผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกประชาสัมพันธ์
-
แผนกบัญชีไม่สามารถจ่ายเงิน หากประชาสัมพันธ์ไม่แจ้งยอดของบประมาณในการ
ประชาสัมพันธ์ให้แก่แผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
-
แผนกบัญชีไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่แผนกคลังสินค้าได้ หากแผนกคลังสินค้าไม่แจ้งของบประมาณในการจัดซื้อให้แก่แผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบุคคลกับแผนกบัญชี
-
บุคคลได้รับเงินไม่ครบถ้วนหากแผนกบัญชีจ่ายเงินมาไม่ตรงกับจำนวนชั่วโมงการทำงาน
ปัญหาระหว่างแผนกบุคคลกับแผนกการขาย/การตลาด
-
พนักงานไม่เพียงพอกับกับจำนวนสินค้าที่ต้องการเสนอขายแก่ลูกค้า
-
พนักงานไม่มีทักษะในด้านการขาย/การตลาด
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกบุคคล
-
พนักงานขายสินค้าไม่ตรงกับที่แผนกขายตั้งราคาไว้
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกประชาสัมพันธ์
-แผนกการขายอาจจะมียอดขายต่ำ
หากไม่ได้รับประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมและทั่วถึง
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
-
แผนกการขายจะไม่สามารถขายสินค้าได้ หากสินค้าในคลังหมดและไม่แจ้งให้แผนกการขายทราบ
-
หากแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า แผนกการขายก็จะไม่ทราบว่าจำนวนสินค้าว่าเพียงพอกับการขายหรือไม่
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกผลิตสินค้า
-
แผนกการขายไม่มีสินค้าที่จะจำหน่ายเนื่องจากแผนกการผลิตผลิตสินค้าได้ล่าช้า
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกควบคุมคุณภาพ
-
สินค้าที่จะนำมาขายไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการขาย
ปัญหาระหว่างแผนกประชาสัมพันธ์กับแผนกบัญชี
-
แผนกประชาสัมพันธ์ไม่มีงบประมาณในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เนื่องจากแผนกบัญชีไม่จ่ายเงินงบประมาณ
ปัญหาระหว่างแผนกประชาสัมพันธ์กับแผนกการขาย/การตลาด
-
แผนกประชาสัมพันธ์ไม่รู้ข้อมูลในการประชาสัมพันธ์เนื่องจากแผนกการขายไม่ส่งขอมูลในการประชาสัมพันธ์
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกบัญชี
-
แผนกคลังสินค้ามีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดซื้อเนื่องจากแผนกบัญชีไม่จ่ายเงิน
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกการขายไม่แจ้งยอดสินค้าให้หับแผนกคลังสินค้าทำให้แผนกคลังสินค้าไม่ทราบจำนวนสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกผลิตสินค้า
-
แผนกผลิตสินค้าผลิตสินค้าล่าช้าทำให้คลังสินค้ามีสินค้าไม่เพียงพอในการสต็อกสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกการขาย/การตลาด
-
แผนกการขายไม่แจ้งจำนวนสินค้าให้แก่แผนกผลิตทำให้แผนกผลิตไม่ทราบจำนวนของที่เหลืออยู่
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
-
แผนกคลังสินค้าไม่แจ้งยอดสินค้าที่ต้องการ
-
แผนกคลังสินค้าไม่จัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตให้แก่แผนกผลิตสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกควบคุมคุณภาพกับแผนกการขาย/การตลาด
-
แผนกการขายนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาวางขาย
สรุปปัญหาทั้งหมดของบริษัท
1.ข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ
รายจ่ายได้
2.ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมีจำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3.รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก
เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
4.การจัดบัญชีรายรับ
รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
5.การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น
เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
6.ตรวจสอบวันลา
หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
7.ไม่ทราบเวลาเข้า
– ออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็นต์
8.เอกสารมีจำนวนมาก
ทำให้การจัดเก็บไม่เป็น
9.ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน
เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง
ทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
10.ข้อมูลมีความแตกต่าง
เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น เบอร์โทรศัพท์
ที่อยู่ เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย ๆ
11.เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
12.การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
13.สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
14.ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก
เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
15.ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น
เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
16.ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินเนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
17.การสต็อกสินค้าไม่เพียงพอ
18.จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
19.วัตถุดิบบางตัวมีราคาค่อนข้างสูงทำให้ไม่ต้องตามเป้าหมายที่วางไว้
20.มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
21.แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
22.มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
23.มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
24.มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า
ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
25.สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
26.มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด
ปัญหาและความเกี่ยวข้องกับระบบงาน
ระบบงานที่ต้องการพัฒนา
1. ระบบงานขาย/การตลาด
2. ระบบงานบัญชี
3. ระบบคลังสินค้า /จัดซื้อ
การประเมินความต้องการของบริษัท
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร
รูปที่ 2 แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites) ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(Function-to-Data
Entities)
ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
1. เพิ่มจำนวนลูกค้า
2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
3. เพิ่มภาพลักษณ์ให้กับบริษัท
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. เพิ่มผลกำไร
ขั้นตอนที่ 1
การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
(Project Identification and Selection)
1.
ค้นหาโครงการที่ต้องการพัฒนา
จากการที่ได้สำรวจปัญหาของแต่ละแผนกและปัญหาระหว่างแผนกสามารถเลือกระบบที่ต้องการพัฒนาได้ดังนี้
1. ระบบงานขาย/การตลาด
2. ระบบงานบัญชี
3. ระบบคลังสินค้า/จัดซื้อ
ทางบริษัทได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบของบริษัททั้งสิ้น 450,000 บาท
ตารางที่ 2 การกำหนดชื่อโครงการ
2. จำแนกและจัดกลุ่มระบบ
ระบบทั้ง 3 ระบบที่ค้นหามาได้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ระบบงานขาย
วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการทำการโฆษณาสินค้า
ดึงดูดความสนใจแก่ลูกค้าที่มาจะมาบริโภคสินค้าของเรา
2. ระบบงานบัญชี
วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
ใช้งานได้ง่ายต่อการทำงานและง่ายต่อการพัฒนาต่อ
3. ระบบคลังสินค้า/จัดซื้อ
วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของการคลัง
เพื่อให้สามารถตรวจสอบยอดต่างๆของสินค้าได้
ตารางที่ 3
จำแนกวัตถุประสงค์ของบริษัท
จากตาราง พบว่าแต่ละระบบสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ทั้งหมด แต่เนื่องด้วยทางบริษัทมีงบประมาณในการพัฒนาระบบจำกัด จึงต้องนำระบบทั้ง 3 มาพิจารณาใหม่อีกครั้งซึ่งจะต้องดูรายละเอียดของขนาดระบบ งบประมาณและผลประโยชน์ สามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้
ตารางเมตริกซ์ Information
System –to-Objectives
ตารางที่ 4 เมตริกซ์
Information
System –to-Objectives
จากการพิจารณาโครงการทั้ง
3 โครงการตามวัตถุประสงค์
ขนาดของโครงการที่ต้องการพัฒนาและผลประโยชน์จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุดคือ
ระบบการขาย กับ ระบบงานบัญชี แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนของบริษัท
ทางบริษัทจึงเห็นควรเลือกพัฒนาโครงการระบบการขายซึ่งเป็นโครงการขนาดกลางที่ทางบริษัทสามารถให้เงินลงทุนได้และปฎิเสธโครงการพัฒนาระบบงานบัญชีเนื่องจากใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงกว่า
การเสนอแนวทางเลือก
ในการนำระบบพัฒนาระบบการขายมาใช้งาน
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมและพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถตรวจเช็คสินค้าและจำนวนสินค้า
รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าในวงกลางได้
อีกทั้งมีปัญหาในเรื่องของการเบิกจ่ายและการสั่งซื้ออาจทำให้เกิดความซับซ้อนของข้อมูล
เช็คย้อนหลังได้ยาก เพื่อลดปัญหาต่างๆลง
ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นทางทีมงานได้รวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผู้บริหารจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ โดยมีแนวทางเลือกในการพัฒนาโครงการ 3 แนวทางคือ
1.จัดซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
1.จัดซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด
รูปที่ 3 ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด
การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
ทางเลือกที่ 1 :
การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaged Software) มีรายละเอียดดังตาราง
แนวทางเลือกที่ 1 จัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
แนวทางเลือกที่ 1 จัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ตารางที่ 5 แนวทางเลือกที่ 1. การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4
ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3
ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2
ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน
โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
ตารางการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
แนวทางเลือกที่ 2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
ตารางที่ 6. แนวทางเลือกที่ 2. ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบ
การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือก
ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก
(คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30
เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ตารางการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือก
จ้างบริษัทบริษัท rightsoftcorp
พัฒนาระบบ มาพิจารณา เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
ข้อเสนอแนะแนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทาง
แนวทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จระบบ B
ข้อดี ระบบมีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของบริษัทที่ได้จัดทำไว้ราค่ามาต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบไม่สูงมากนัก
ข้อเสีย ระบบไม่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ก็ไม่กระทบองค์กรใช้ระยะเวลาในการติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานนาน
แนวทางเลือกที่ 2
การจ้างบริษัท rightsoftcorp เพื่อพัฒนาระบบ
B
ข้อดี ระบบมีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของบริษัทที่ระบบยังมีความยืดหยุ่นในปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบองค์กรสามารถพัฒนาไปยังอนาคตข้างหน้าได้ใช้ระยะเวลาติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานน้อย
ข้อเสีย ราค่าต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบค่อนข้างสูง
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทางจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนาพร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสอง
โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร
โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบการพิจารณาแนวทางเลือกทั้งสามแนวทาง
สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมีความคุ้มค่าในการลงทุน
ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
นำระบบการขายมาใช้งานในบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเสมือนลูกค้าเป็นพี่น้องของเราและใช้เป็นระบบที่ใช้ในการขายสินค้า
วัตถุประสงค์
เพื่อนำระบบใหม่มาแก้ไขปัญหาต่างๆให้มากที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
และความทันสมัยของระบบเพื่อนทันต่อการใช้งานรวมไปถึงตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐาน
ถูกต้อง ว่องไวตรงตามความต้องการ
และพัฒนาให้เป็นระบบงานขายที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบการขายได้มีการจัดทำขึ้นโดย
ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการ
พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
·
ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
·
ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
·
ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
·
ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
·
ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
· เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
· ข้อมูลมีความแตกต่าง เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลง
· เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
· การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าและการค้นหาข้อมูลของลูกค้าเกิดความซ้ำซ้อน
· ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
· เนื่องจากเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่ตลอดเวลาทำให้ข้อมูลเกิด ความเสียหายและสูญหายได้
· ยากต่อการหาข้อมูล
· การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน
ความต้องการในระบบใหม่
· ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
· สามารถเก็บ และตรวจสอบข้อมูลลูกค้า สินค้าได้
· สามารถเพิ่ม
แก้ไข
เปลี่ยนแปลงข้อมูลของสินค้าและข้อมูลลูกค้าได้
· สามารตรวจเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการจองได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
· ลดความซ้ำซ้อนกันของการทำงาน
· ลดระยะเวลาในการทำงาน
· ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำและไม่ซ้ำซ้อน
· การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวทางในการพัฒนา
การพัฒนาระบบ
เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการขายและในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น สั่งซื้อสินค้า การตรวจสต็อกสินค้า
ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ
อาจจะมีเอกสารหรือข้อมูลที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน
ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับบริษัทแล้วสามารถแบ่งได้ทั้งหมด
7 ขั้นตอน
1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3. การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบเชิงตรรกะ
5. การออกแบบเชิงกายภาพ
6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7. การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project
Identification and Selection )
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัทสวีทตี้
ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
· การสั่งซื้อสินค้า
· การเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการสั่ง
· การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าและข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
·
เริ่มต้นทำโครงการ
ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
·
กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
·
วางแผนการทำงานของระบบใหม่
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์
1.ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม ดูว่าการทำงานของบริษัท
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการสั่งจองสินค้า
2.การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ
ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3.จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้
ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบเชิงตรรกะ
เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบระบบงานที่ได้ในแต่ละงานจะไม่เหมือนกันซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ระบบงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนที่ 5 การออกแบบเชิงกายภาพ
ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น และมีความรวดเร็ว ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หรือจัดทำโปรแกรมขึ้นมาเอง แต่อาจจะมีความยุ่งยากไปหน่อย หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
1. เขียนโปรแกรม
2. ทดสอบโปรแกรม
3. ติดตั้งระบบ
4. จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ
เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบระบบงานที่ได้ในแต่ละงานจะไม่เหมือนกันซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ระบบงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนที่ 5 การออกแบบเชิงกายภาพ
ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น และมีความรวดเร็ว ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หรือจัดทำโปรแกรมขึ้นมาเอง แต่อาจจะมีความยุ่งยากไปหน่อย หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
1. เขียนโปรแกรม
2. ทดสอบโปรแกรม
3. ติดตั้งระบบ
4. จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 7 การซ่อมบำรุงระบบ
อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด
แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบการขายสินค้า และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากร
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
1.
ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ
บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 คน จะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์
จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ
รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ
2. ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
ปัจจุบันทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน20 เครื่อง
3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 6เครื่อง
ปัจจุบันทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน20 เครื่อง
3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 6เครื่อง
4. อุปกรณ์ต่อพวง 7 ชุด (ตามความเหมาะสม)
ตารางที่ 7 การบริหารงาน
สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
1.ผู้จัดการ
ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 190,000
บาท
2.พนักงาน
ฝึกอบรมพนักงานและผู้บริหาร 10 คน 2,100
บาท
วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ 1,000
บาท
3.จัดชื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์:
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นworkstation 80,500 บาท
อื่นๆ 15,000
บาท
4.ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินงาน
4.ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินงาน
ค่าบำรุงระบบ 65,000
บาท
จัดชื่อเก็บข้อมูลสำรอง 2,500 บาท
จัดชื่อเก็บข้อมูลสำรอง 2,500 บาท
รวม 356,100 บาท
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการระบบการขาย จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1
กุมภาพันธ์ 2556 ถึง 1 มีนาคม 2556
เป็นระยะเวลาในการดำเนินงานของการพัฒนาระบบการขายของบริษัท
ระยะเวลาดำเนินงาน
· จำนวนชั่วโมงจริงในการทำงานในแต่ละวัน
หรือส่วนหนึ่งของการประมาณระยะเวลาที่กำหนดไว้ นั่นคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่รวมช่วงพักเที่ยง
·
เฉพาะวันทำการ คือวันจันทร์-ศุกร์
ไม่นับวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
จากการที่ได้ศึกษาโครงการส่งเสริมการขายปัญหาที่พบในระบบ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบริษัท พนักงาน และอาจจะส่งผลต่อลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในด้านการบริการ และทางระบบสารสนเทศ ทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่ขึ้น เพื่อที่จะนำไปพัฒนา
จากการที่ได้ศึกษาโครงการส่งเสริมการขายปัญหาที่พบในระบบ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบริษัท พนักงาน และอาจจะส่งผลต่อลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในด้านการบริการ และทางระบบสารสนเทศ ทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่ขึ้น เพื่อที่จะนำไปพัฒนา
ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
(System Requirements Determination)
การกำหนดความต้องการของระบบ
(System Requirements Determination)
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อระบบการขายได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้ว ในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
จึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งรวมทั้งรายละเอียดในการทำงานในปัจจุบันและความต้องการในระบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม
ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถา(Questionnaire) สำหรับวิธีการออกแบบสอบถาม
ทีมงามสามารถกำหนดคำถามที่ต้องการได้ตรงประเด็นเหมาะกับผู้จัดการแผนกที่มีเวลาให้สัมภาษณ์น้อยและผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการให้คำตอบ
ซึ่งบุคคลที่ทางทีมงานเลือกที่จะออกแบบสอบถามมีดังนี้
ออกแบบสอบถาม
(Questionnaire) บุคคลที่ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ
การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีการจดบันทึก ดังเช่น
วิธีการสัมภาษณ์
ซึ่งจะทำให้เสียเวลามาก
ไม่รวบกวนเวลาของผู้จัดการมากนัก
สามารถเก็บข้อมูลได้มาก
ตามการตั้งคำถามในแบบสอบถามอีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูลดังตัวอย่าง
ตัวอย่างแบบสอบถาม
แบบฟอร์มที่ 1 แบบสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม
ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
2. ความต้องการในระบบใหม่
3. ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์ม และรายงายของระบบเดิม
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN ประกอบด้วย
1.1 เครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows Server 2007
1.2 เครื่องลูกข่าย จำนวน 20 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP 5 เครื่อง Windows7 15 เครื่อง และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
- แผนกการขายใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel 2007 ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
- แผนกบัญชีใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี AccStar และใช้Microsoft Excel 2007 สำหรับคำนวณเงินยอดการสั่งซื้อ สั่งเบิกสินค้า
- แผนกฝ่ายบุคคล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป CRM ในการคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงาน
- แผนกคลังสินค้า ใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายของมาใช้ และจำนวนของในสต็อกสินค้า พร้อมพิมพ์รายการสั่งซื้อ
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
2. ความต้องการในระบบใหม่
3. ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์ม และรายงายของระบบเดิม
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN ประกอบด้วย
1.1 เครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows Server 2007
1.2 เครื่องลูกข่าย จำนวน 20 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP 5 เครื่อง Windows7 15 เครื่อง และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
- แผนกการขายใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel 2007 ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
- แผนกบัญชีใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี AccStar และใช้Microsoft Excel 2007 สำหรับคำนวณเงินยอดการสั่งซื้อ สั่งเบิกสินค้า
- แผนกฝ่ายบุคคล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป CRM ในการคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงาน
- แผนกคลังสินค้า ใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายของมาใช้ และจำนวนของในสต็อกสินค้า พร้อมพิมพ์รายการสั่งซื้อ
-แผนกประชาสัมพันธ์
ใช้ซอฟแวร์ Microsoft Power Point 2007 ในการประชามสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร
-แผนกผลิตสินค้าใช้ซอฟต์แวร์Microsoft
Excel 2007ในการเช็คสินค้าที่จะใช้ผลิตและพิมพ์รายการสินค้าที่ผลิตแล้ว
-แผนกควบคุมคุณภาพใช้ซอฟต์แวร์Microsoft word 2007
ในการพิมพ์รายการตรวจสอบคุณภาพ
1.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จำนวน 3 เครื่อง เครื่องพิมพ์อิงค์เซท 2 เครื่องเครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง
1.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จำนวน 3 เครื่อง เครื่องพิมพ์อิงค์เซท 2 เครื่องเครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง
1.4 อุปกรณ์อื่นๆ
ตัวปล่อยสัญญาณ Wi-Fi จำนวน 3 ชุด
2. ความต้องการในระบบใหม่
2.1 สามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
2.2 สามารถเพิ่มการสั่งซื้อสินค้าได้ง่าย
รวดเร็ว
2.3ข้อมูลในระบบสามารถเชื่อมโยงไปยังแผนกอื่นๆได้ แต่จะต้องทำการเข้า Login ก่อน
2.4สามารถเช็คดูจำนวนสินค้าในสต๊อกได้
2.5 สามารถค้นหาข้อมูลของลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
2.3ข้อมูลในระบบสามารถเชื่อมโยงไปยังแผนกอื่นๆได้ แต่จะต้องทำการเข้า Login ก่อน
2.4สามารถเช็คดูจำนวนสินค้าในสต๊อกได้
2.5 สามารถค้นหาข้อมูลของลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ความต้องการของผู้ใช้กับระบบงานใหม่
จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
2. สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้โดยสะดวก
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. พนักงานทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
5. มีการใช้งานที่ง่ายไม่สับซ้อน
จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
2. สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้โดยสะดวก
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. พนักงานทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
5. มีการใช้งานที่ง่ายไม่สับซ้อน
6. มีการพิมพ์ใบสั่งซื้อสินค้า
ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ(Process Modeling)
จำลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ
(System Requirement Structuring)
จำลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ
(System Requirement Structuring)
หลังจากโครงการพัฒนาระบบงานฝ่ายบัญชี ได้รับการอนุมัติแล้ว
ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล
ดังนี
Comtext Diagram
อธิบาย Context Diagram
ลูกค้า
ลูกค้าจะส่งรายการสินค้าที่ซื้อไปยังระบบ
และระบบจะทำการส่งใบเสร็จไปให้ลูกค้า
ตัวแทนขาย
ตัวแทนชายจะส่งในเสร็จของไปยังระบบและระบบจะทำการส่งข้อมูลใบสั่งซื้อสินค้าไปให้ตัวแทนขาย
พนังงาน
พนักงานจะส่งข้อมูลพนักงานไปยังระบบ
และระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลพนักงานไปให้พนักงานพนักงานจะส่งข้อมูลลูกค้าไปยังระบบและระบบจะทำการส่งรายงานลูกค้าไปให้พนักงาน
พนักงานจะส่งข้อมูลสินค้าไปยังระบบและระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลสินค้าคงเหลือไปให้พนักงา
ผู้จัดการ
ผู้จัดการส่งยอดขายสินค้าไปยังระบบและระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลที่สั่งซื้อสินค้าและรายงานยอดขายสินค้าไปให้ผู้จัดการ
DFD
LEVEL 0
อธิบาย Level 0
1.ระบบข้อมูล
2.ระบบขายสินค้า
3.ระบบจัดทำรายงาน
4.ระบบสั่งซื้อสินค้า
1.ระบบข้อมูล
พนักงาน
พนักงานส่งข้อมูลสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานไปยังระบบ ระบบก็จะทำการส่งข้อมูลลูกค้าไปยังแฟ้มลูกค้าและแฟ้มลูกค้าจะทำการเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ในระบบข้อมูล
ระบบข้อมูลจะส่งข้อมูลพนักงานไปยังแฟ้มพนักงานและแฟ้มพนักงานจะทำการเก็บข้อมูลพนักงานไว้ในระบบ
ระบบข้อมูลจะทำการส่งข้อมูลประเภทไปยังแฟ้มประเภท และแฟ้มประเภทจะทำการเก็บข้อมูลประเภทไว้ในระบบ
ระบบข้อมูลจะทำการส่งข้อมูลสินค้าไปยังแฟ้มสินค้าและแฟ้มสินค้าจะทำการเก็บข้อมูลสินค้าไว้ในระบบ
2.ระบบขายสินค้า
แฟ้มลูกค้าทำการส่งข้อมูลลูกค้าไปยังระบบ
แฟ้มพนักงานส่งข้อมูลพนักงานไปยังระบบ แฟ้มประเภทส่งข้อมูลประเภทไปยังระบบ
แฟ้มสินค้าทำการส่งข้อมูลลูกค้าไปยังระบบ
ระบบจะทำการเก็บข้อมูลสินค้าไว้ในแฟ้มสินค้า
ลูกค้า – ลูกค้าส่งรายการสินค้าที่ซื้อไปยังระบบ
ระบบจะทำการจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดการขายไปยังแฟ้มรายละเอียดการขาย
ระบบจะทำการจัดเก็บข้อมูลการขายสินค้าไปยังแฟ้มใบเสร็จรับเงิน
3.ระบบจัดทำรายงาน
แฟ้มลูกค้าจะส่งข้อมูลลูกค้าไปยังระบบ
แฟ้มพนักงานจะส่งข้อมูลพนักงานไปยังระบบ แฟ้มประเภทจะส่งข้อมูลประเภทไปยังระบบ
แฟ้มสินค้าจะส่งข้อมูลสินค้าไปยังระบบ
แฟ้มใบเสร็จรับเงินจะส่งข้อมูลการขายสินค้าไปยังระบบ
แฟ้มรายละเอียดการขายจะส่งข้อมูลรายละเอียดการขายไปยังระบบ ระบบจะทำการส่งใบเสร็จรับเงินไปยังลูกค้าและลูกค้าจะทำการส่งใบเสร็จรับเงินไปยังระบบ
ระบบจะส่งรายงานข้อมูลสั่งซื้อและรายงานยอดขายสินค้าไปยังผู้บริการและผู้บริหารก็จะทำการส่งยอดขายสินค้าไปยังระบบ
ระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลพนักงาน รายงานสินค้าคงเหลือและรายงานข้อมูลลูกค้าไปยังพนักงาน
4.ระบบสั่งซื้อสินค้า
แฟ้มพนักงานจะส่งข้อมูลพนักงานไปยังระบบ
แฟ้มตัวแทนขายจะส่งข้อมูลผู้จำหน่ายไปยังระบบ ตัวแทนขายจะส่งใบสั่งของไปยังระบบและระบบจะทำการส่งข้อมูลใบสั่งซื้อสินค้าไปให้ตัวแทนขาย
ระบบจะส่งข้อมูลไปยังแฟ้มสินค้าส่งข้อมูลสั่งซื้อไปยังแฟ้มสั่งซื้อสินค้าส่งรายละเอียดการสั่งซื้อไปยังแฟ้มร้ายละเอียดการสั่งซื้อสินค้า
แฟ้มสั่งซื้อสินค้าจะส่งข้อมูลการสั่งซื้อไปยังระบบจัดทำรายงาน
แฟ้มรายละเอียดการสั่งซื้อสินค้าจะส่งรายละเอียดการสั่งซื้อไปยังระบบจัดทำรายงาน
DFD LEVEL 1 Of Process
1
อธิบาย
DFD LEVEL 1 Of Process
1
1.1 ตรวจสอบความถูกต้อง
1.2 แสดงข้อมูล
1.3 บันทึกข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบ
เป็นขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยจะทำการดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มข้อมูลลูกค้า
ดึงข้อมูลพนักงานจากแฟ้มพนักงาน ดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มสินค้า
เพื่อนำมาประมวลผลความถูกต้องมาขั้นตอนแสดงข้อมูลหลังจากนั้นบันทึกข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและส่งข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบไปยังพนักงาน
DFD LEVEL 1 Of Process 2
อธิบาย
DFD LEVEL 1 Of
Process 2
2.1
ตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการซื้อ
2.2
แสดงรายละเอียดสินค้า
ขั้นตอนแรก
เป็นขั้นตอนการตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการซื้อโดยที่จะทำการดึงข้อมูลสินค้ามาจากแฟ้มสินค้าและราคาส่งสินค้าที่ต้องการซื้อมาตรวจสอบ
เมื่อตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการซื้อก็จะมาแสดงรายละเอียดสินค้าในขั้นตอนที่สองคือขั้นตอนแสดงรายละเอียดสินค้าหลังจากนั้นจะทำการส่งรายการสินค้าที่ต้องการซื้อจากขั้นตอนที่สองไปยังลูกค้า
DFD LEVEL 1 Of
Process 3
อธิบาย
DFD LEVEL 1 Of
Process 3
3.1
ตรวจสอบข้อมูล
3.2
พิมพ์
จะมีขั้นตอนทั้งหมด
2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่
1 ตรวจสอบข้อมูลโดยทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มสินค้า ดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มลูกค้า
ดึงข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าและผู้จัดการส่งยอดขายสินค้าไปตรวจสอบข้อมูลเมื่อตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้วก็จะทำการพิมพ์ข้อมูลใน
ขั้นตอนที่2
คือขั้นตอนพิมพ์ ขั้นตอนพิมพ์ก็จะดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มสินค้า
ดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มลูกค้า ดึงข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูล
การสั่งซื้อสินค้าและทำการรายงานยอดขายสินค้าที่จะต้องการไปยังผู้จัดการ
DFD LEVEL 1 Of Process
4
4.1 ตรวจสอบข้อมูล
4.2 เลือกรายการสินค้า
4.3 รายละเอียดสินค้า
4.4 ยืนยันการสั่งซื้อ
4.5 บันทึก
4.6 พิมพ์
จะมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่1
ตรวจสอบรหัสใบสั่งซื้อสินค้าโดยจะทำการดึงข้อมูลตัวแทนขายจากแฟ้มตัวแทนขายดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มสินค้า
ตัวแทนขายจะส่งเลขที่ใบสั่งซื้อรหัสพนักงาน มาตรวจสอบ
เมื่อทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำมาตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงินใน ขั้นตอนที่2
เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงินแล้วก็จะนำมาแสดงรายละเอียดใน ขั้นตอนที่3
โดยขั้นตอนนี้จะทำการดึงข้อมูลรายละเอียดการสั่งซื้อจากแฟ้มรายละเอียดการสั่งซื้อสินค้า
และส่งรายละเอียดการชำระเงินไปยังตัวแทนขาย
เมื่อเสร็จแล้วจะทำการยืนยันการสั่งซื้อใน ขั้นตอนที่4
โดยขั้นตอนนี้จะทำการดึงข้อมูลสั่งซื้อสินค้า จากแฟ้มสั่งซื้อสินค้า
และตัวแทนขายจะทำการยืนยันการสั่งซื้อ หลังจากนั้นจะมาทำการบันทึกใน ขั้นตอนที่5
โดยขั้นตอนนี้จะทำการบันทึกข้อมูลทั้งหมดไว้ที่แฟ้มรายละเอียดการสั่งซื้อสินค้าจากนั้นจะทำการพิมพ์ใน
ขั้นตอนที่6 ขั้นตอนนี้จะทำการพิมพ์ในเสร็จ ใบส่งของไปยังตัวแทนขาย
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับสินค้า
1.
ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับการขาย
สมาชิกหนึ่งคนสามารถซื้อสินค้าได้หลายครั้ง
รูปที่ 4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับการจอง
2.
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลระบบกับสมาชิก
ผู้ดูแลระบบหนึ่งคนดูแลสมาชิกได้หลายคน
รูปที่ 5 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลระบบกับสมาชิก
3.
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลระบบกับการประกาศข่าว
ผู้ดูแลระบบหนึ่งคนสามารถประกาศข่าวได้หลายข่าว
รูปที่ 6 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลระบบกับการประกาศข่าว
4. ความสัมพันธ์ระหว่างการขายกับการรับชำระเงิน
การขายหนึ่งครั้งสามารถได้รับชำระเงินได้หลายครั้ง
รูปที่ 7 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการขายกับการรับชำระเงิน
จากเงื่อนไขของความสัมพันธ์ข้างต้นนำมากำหนดประเภทความสัมพันธ์
ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบ User Interface
หน้าต่าง Login เพื่อเข้าสู่ระบบการขาย
หน้าต่างสมัครสมาชิกใหม่สำหรับผู้เข้าใช้งานครั้งแรก
หน้าต่างหน้าหลักแสดงส่วนต่างๆของระบบ
หน้าต่างรายชื่อลูกค้า สามารถเพิ่มข้อมูลและค้นหากข้อมูลลูกค้าที่ต้องการได้
หน้าต่างรายชื่อสินค้า แสดงหมวดหมู่สินค้า หมายเลขสินค้าและรายละเอียดสินค้าต่างๆที่ต้องการทราบ
หน้าต่างรายการขายสินค้า แสดงหมายเลขใบกำกับภาษี หมายเลขสินค้าและจำนวนเงิน
ขั้นตอนที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ทีมงานได้จัดทำ
เอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบจัดซื้อ
เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำ งานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โปรแกรมระบบขายเป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด
3 ส่วนได้แก่
1. รายชื่อลูกค้า
มีหน้าที่ในการในการตรวจสอบชื่อลูกค้า
พร้อมทั้งเพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล และพิมพ์รายงาน
2. รายชื่อสินค้า
มีหน้าที่ในการแจ้งยอดขายสินค้า นำเสนอสินค้า บอกรายละเอียดของสินค้าต่างๆ
3. รายการขายสินค้า เป็นระบบที่ออกใบเสร็จรับเงิน
ใบรายการสินค้า เป็นต้นเป็นระบบทีจัดการข้อมูลสินค้า สามารถตรวจสอบการซื้อสินค้า
สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ง่ายมากขึ้น และเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่อง
ขั้นตอนที่ 7
ซ่อมบำรุง
ซ่อมบำรุง
การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่องเมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็ว